ความหมายของคอมพิวเตอร์
ปัจจุบันคนส่วนใหญ่มีความเชื่อกันว่า การมีความรู้เกี่ยวกับการใช้งานคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือที่เรียกกันว่า Personal Computer นั้นเป็นความสามารถหรือความชำนาญขั้นพื้นฐานที่จำเป็นในการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การประกอบ ธุรกิจ ให้ประสบความสำเร็จ
เนื่องจากปริมาณการใช้คอมพิวเตอร์ และคุณสมบัติของคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้คนจำนวนมากเชื่อว่าแต่ละคนจำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์ กล่าวคือ รู้วิธีการใช้คอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตามโลกปัจจุบันซึ่งเป็นโลกของเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือที่มักเรียกกันว่าเป็นยุคของข้อมูลข่าวสาร การมีความรู้ในการใช้คอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียวนั้นถือว่าไม่เพียงพอต่อไปแล้ว บุคคลจำเป็นต้องเรียนรู้การบริโภคข้อมูลข่าวสาร และสามารถวิเคราะห์ข่าวสารที่มีอยู่เป็นจำนวนมากให้เกิดประโยชน์ได้ นักวิชาการหลายทานได้กำหนดหรือนิยามความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้หลายความหมาย แต่เมื่อพิจารณาโดยภาพรวมแล้ว ความหมายของคอมพิวเตอร์จะหมายถึงอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronics Device) ที่มนุษย์ใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการกับข้อมูลที่อาจเป็นได้ ทั้งตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนความหมายในสิ่งต่างๆ โดยคุณสมบัติที่สำคัญของคอมพิวเตอร์คือการที่สามารถกำหนดชุดคำสั่งล่วงหน้าหรือโปรแกรมได้ (Programmable) นั้นคือคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้หลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับชุดคำสั่งที่เลือกมาใช้งาน ทำให้สามารถนำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างกว้างขวาง เช่น ใช้ในการตรวจ คลื่นความถี่ของหัวใจ การฝาก-ถอนเงินในธนาคาร การตรวจสอบสภาพเครื่องยนต์ เป็นต้น ข้อดีของคอมพิวเตอร์ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความถูกต้อง และมีความรวดเร็ว
ประเภทของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์สามารถจำแนกได้หลายประเภท ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความแตกต่างของขนาดเครื่องความเร็วในการประมวลผล และราคาเป็นข้อพิจารณาหลัก ซึ่งโดยทั่วไปนิยมจำแนกประเภทคอมพิวเตอร์เป็น 7ประเภทดังนี้ คือ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ( Supercomputer) คอมพิวเตอร์เมนเฟรม (Mainframe computer) มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer) คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Desktop computer) โน้ตบุ๊คคอมพิวเตอร์ (Notebook computer) คอมพิวเตอร์พกพาขนาดฝ่ามือ (Hand-held Personal computer) คอมพิวเตอร์แบบฝัง (Embedded computer) ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
1.ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด จึงมีราคาแพงมาก ความสามารถในการประมวลผลที่ทำได้ถึงพันล้านคำสั่งต่อวินาที ตัวอย่างการใช้งานคอมพิวเตอร์ประเภทนี้ เช่น การพยากรณ์อากาศ การทดสอบทางอวกาศ และงานอื่นๆ ที่มีการคำนวณที่ซับซอน ปัจจุบันมีการนำซูเปอร์คอมพิวเตอร์ไปใช้กับงานออกแบบชิ่นส่วนรถยนต์ งานวิเคราะห์สิงค้าคงคลัง หรือแม้แต่การออกแบบงานด้านศิลปะ หน่วยงานที่มีการใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ได้แก่ องค์การนาซา (NASA) และหน่วยงานธุรกิจขนาดใหญ่ เช่น บริษัท General Motorsและ AT&Tเป็นต้น
2. เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer) หรือ คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพรองจากซูเปอร์คอมพิวเตอร์ สามารถรองรับการทำงานจากผู้ใช้ได้หลายร้อยคนในเวลาเดียวกัน ประมวลผลด้วยความเร็วสูง มีหน่วยความจำหลักขนาดใหญ่ ตลอดจนการจัดเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก คอมพิวเตอร์เมนเฟรมนิยมใช้กับองค์กรขนาดใหญ่ที่มีการเข้าถึงข้อมูลผู้ใช้จำนวนมากในเวลาเดียวกัน (Multiple Users) เช่น งานธนาคาร การจองตั๋ว เครื่องบิน การลงทะเบียนและการตรวจสอบผลการเรียนของนักศึกษาเป็นต้น
3. มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer) หรือคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานด้านความเร็วและความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลน้อยกว่าเมนเฟรม แต่สูงกว่าคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Desktop computer) และสามารถรองรับการทำงานจากผู้ใช้ได้หลายคนในการทำงานที่แตกต่างกัน จากจุดเริ่มต้นในการพัฒนาที่ต้องการให้คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ทำงานเฉพาะอย่าง เช่น บริษัทที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ โรงงานผลิตปูนซีเมนต์ ตลาดหลักทรัพย์สถานศึกษา รวมทั้งการให้บริการข้อมูลแก้ลูกค้า เช่น การจองห้องพักของโรงแรม เป็นต้น
4. คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Desktop C0mputer) หรือเดสก์ท็อปเป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer หรือ PC) ที่มีขนาดเล็กเหมาะกับโต๊ะทำงานในสำนักงาน สถานศึกษา และที่บ้าน รูปทรง ของตัวเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีทั้งแบบวางนอน และแบบแนวตั้งที่เรียกว่าทาวเวอร์ (Tower) เพื่อประหยัดเนื้อที่เป็นการวางทั้งบนโต๊ะและที่พื้น
การแบ่งประเภทของคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะยังจำแนกได้ ดั้งนี้
· All-in Computer เป็นคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะที่รวมจอภาพและหน่วยประมวลผลอยู่ในอุปกรณ์เดียวกัน
· Workstation เป็นคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะที่มีความสามารถและราคาสูงกว่าคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะทั้วไปออกแบบมาเพื่อใช้งานด้านการคำนวณและกราฟิก ผู้ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นสถาปนิก วิศวกร และนักออกแบบภาพกราฟิก
· Stand-alone Computer หรือคอมพิวเตอร์ระบบเดียว เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำงานที่เรียกว่า IPOS cycle โดยที่ไม่ได้เชื่อมต่อระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แต่ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ประเภทนี้มีความสามารถในการเชื่อมต่อข่ายได้
· Server Computer เป็นคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะที่มีความสามารถเช่นเดียวกันหรือใกล้เคียงกับคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ (เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ให้บริการต่างๆ เช่น ข้อมูลโปรแกรมจัดสรรงานพิมพ์ เป็นต้น)
5. คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค (Notebook Computer) หรือบางครั้งเรียกว่า แลปท็อปคอมพิวเตอร์ (Laptop Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กกว่าเครื่องพีซีแบบตั้งโต๊ะน้ำหนักเบา จึงสามารถนำติดตัวไปยังสถานที่ต่างๆ ได้ เครื่องโน้ตบุ๊คมีสมรรถนะในการทำงานเทียบเท่าเครื่องพีซีแบบตั้งโต๊ะ และมีแผงแป้นพิมพ์และจอภาพติดกับตัวเครื่องรวมทั้งมีแบตเตอรี่ภายในเครื่อง จึงสามารถทำงานได้ในช่วงเวลาหนึ่งโดยไม่ต้องใช้ไฟบ้าน เหมาะกับงานส่วนบุคคลและงานสำนักงานที่จำเป็นต้องออกนอกสถานที่
นอกจากโน้ตบุ๊คคอมพิวเตอร์ที่เห็นและใช้งานกันทั่วไปแล้ว ยังมีคอมพิวเตอร์พกพาที่เริ่มได้ รับความนิยมมากขึ้น นั้นคือ Tablet PC ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดกำลังเหมาะ น้ำหนักเบา หมุนได้180 องศา มีทั้งแบบมีแป้นพิมพ์ในตัว และแบบไม่มีแป้นพิมพ์ในตัวแต่มีแป้นพิมพ์แยกต่างหาก การรับข้อมูล (Input) สามารถใช้ทั้งแบบสัมผัสและใช้ปากกาชนิดพิเศษ(Stylus)เขียนแบบจอภาพได้ หรือแม้กระทั้งเสียงพูด ระบบเชื่อมต่อเครือข่ายทั้งแบบแลง (LAN) และแบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless LAN)
6. คอมพิวเตอร์ฝ่ามือ (Hand-held Personal Computer) หรือเครื่องพีซีขนาดมือถือ หรือเครื่องพีดีเอ(Personal Digital Assistant-PDA) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเท่ากับเครื่องคิดเลขขนาดเล็ก น้ำหนักเบามาก จึงสามารถวางบนฝ่ามือได้โดยมีสมรรถนะในการทำงานเฉพาะกับโปรแกรมสำหรับงานส่วนบุคคล เช่น การรับส่งอีเมล์ การบันทึกตารางนัดหมาย และการเข้าถึงข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต เครื่อง PDA
(Personal Digital Assistant) บางครั้งก็ เรียกว่า Pen-based Computer เนื่องจากเป็นคอมพิวเตอร์แบบพกพาที่ใช้ปากกาที่เรียกว่า สไตลัส (Stylus) เป็นอุปกรณ์ในการบันทึกข้อมูล ในบางครั้งก็จะใช้ปากกาในการเขียนข้อมูลด้วยลายมือลงบนหน้าจอ และในบางครั้งอาจจะใช้ปากกานี้สำหรับเป็นอุปกรณ์เพื่อเลือกการทำงานบนจอภาพ ซึ่ง Personal Digital Assistant ในปัจจุบันนอกจากจะทำหน้าที่พื้นฐานทั่วไปแล้วยังสามารถรับ-ส่งอีเมล์ และส่งโทรสาร (Fax) ได้ด้วย
7. คอมพิวเตอร์แบบฝัง (Embedded Computer) หรือไมโครคอนโทรลเลอร์ (Micro Controller) เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กมากที่ใช้ไมโครโพรเซสเซอร์ชนิดพิเศษเพื่อฝัง (Embed) ไว้ในอุปกรณ์ประเภทต่างๆ เช่น บัตรสมาร์ทการ์ด (Smart Card ) โทรศัพท์มือถือ ตู้เย็น เตาไมโครเวฟ และรถยนต์ ทั้งนี้เพื่อเพิ่มคุณลักษณะและความสามารถพิเศษบางประการ เช่น การเก็บข้อมูลส่วนบุคคล การให้บริการด้านบันเทิง การค้นหาข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตการควบคุมเรื่องเวลาและอุณหภูมิ และการให้ข้อมูลเพื่อช่วยในการเดินทาง เป็นต้น
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
มี 5 องค์ประกอบสำคัญ คือ
1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ทำงานประสารกันเพื่อให้เกิดการประมวลผล การจับเก็บ และการเผยแพร่ข้อมูล/สารสนเทศ บางครั้งเราจะเรียกฮาร์ดแวร์ว่า Device ซึ่งหมายถึงอุปกรณ์นั้นเอง ฮาร์ดแวร์ในระบบคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ อุปกรณ์ ส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ (Input Devices) หน่วยประมวลผล (Processors) อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ (Output Devices) และอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นหน่วยเก็บความจำภายนอกหรือหน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage Devices)
2. ซอฟต์แวร์และโปรแกรม (Software and Program)
ซอฟต์แวร์ หมายถึงชุดคำสั่งที่ให้ฮาร์ดแวร์ในระบบคอมพิวเตอร์ทำงานรวมกันและช่วยจัดการข้อมูลที่นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ รวมทั้งเตรียมการให้ระบบสามารถรับคำสั่งให้ทำงานตามที่มนุษย์หรือผู้ใช้ต้องการเฉพาะอย่างตามวัตถุประสงค์ โดยทั่วไปมักจะหมายรวม System Software หรือซอฟต์แวร์ระบบ ซึ่งได้แก่ ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ (Operation System) และ Utilities เกี่ยวกับระบบฮาร์ดแวร์ต่างๆ นั้นเอง
โปรแกรม หมาย ถึงชุดคำสั่งให้ระบบคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการจัดเป็นโปรแกรมประยุกต์ หรือโปรแกรมเฉพาะงาน (application Program) เช่น โปรแกรมทำบัญชี โปรแกรมคิดเงินเดือน โปรแกรมพยากรณ์อากาศ โปรแกรมประมวลผลคำ โปรแกรมรวบรวมข้อมูล เป็นต้น
3. ข้อมูลและสารสนเทศ (Data and Information) ข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์หมายถึงข้อมูลดิบที่มีจำนวนมาก อาจอยู่ในรูปของตัวเลข ตัวอักษร กราฟิก เป็นข้อมูลที่ต้องการได้รับการประมวลผลเพื่อทราบผลลัพธ์ หรือต้องการจัดเก็บให้เป็นระบบระเบียบเพื่อใช่งานต่อไป
สารสนเทศในระบบคอมพิวเตอร์หมายถึงผลลัพธ์ที่คอมพิวเตอร์ประมวลผลข้อมูลแล้วเพื่อนำไปใช้ตามความประสงค์ของผู้ใช้ ผลลัพธ์นี้เรียกว่า สารสนเทศ (Information) ซึ่งสามารถนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผลในระดับต่อไป เช่น เป็นการวิเคราะห์ เปรียบเทียบ จัดกลุ่ม สังเคราะห์ ประเมิน รวมทั้งปรับปรุงตามที่ผู้ใช้ต้องการ
5. กระบวนการทำงาน (Procedures) หมายถึง กระบวนการหลักที่ระบบคอมพิวเตอร์สามารถทำ ได้แก่
5.1 การประมวลผล (Processing) เช่น การคำนวณ การเปรียบเทียบ การจัดกลุ่ม การเรียนลำดับ การปรับปรุงข้อมูล การสรุป การแสดงผล เป็นต้น
5.2 การสร้างความน่าเชื่อถือ (Reliability) ซึ่งหมายรวมถึงการรักษาความปลอดภัยและความแม่นยำเที่ยงตรงในการทำงาน
5.3 การพัฒนา (Development) หมายถึงการพัฒนาคำสั่งหรือโปรแกรมให้สั่งการระบบฮาร์ดแวร์ให้ทำงานตามที่ใช้ประสงค์
ที่มา : https://sites.google.com/site/loryeng2/khwam-hmay-khxng-thekhnoloyi-sarsnthes
http://comedu.nstru.ac.th/5581135059/index.php/2/2016-03-07-10-36-17
http://comedu.nstru.ac.th/5581135059/index.php/2/2016-03-07-10-36-59
http://comedu.nstru.ac.th/5581135059/index.php/2/2016-03-07-10-44-03