ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software)
เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับงานด้านต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ปัจจุบันมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานทางด้านต่าง ๆ ออกจำหน่ายมาก การประยุกต์งานคอมพิวเตอร์จึงกว้างขวางและแพร่หลายเราอาจแบ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์ออกเป็นสองกลุ่ม คือซอฟต์แวร์สำเร็จและซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้งานเฉพาะซอฟต์แวร์สำเร็จในปัจจุบันมีมากมาย เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ฯลฯ
ซอฟแวร์ประยุกต์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. ซอฟแวร์สำเร็จรูป
มี 5 กลุ่มใหญ่ ได้แก่
1) ซอฟต์แวร์ประมวลคำ (word processing software) เป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้สำหรับการพิมพ์เอกสาร สามารถแก้ไข เพิ่ม แทรก ลบ และจัดรูปแบบเอกสารได้อย่างดี เอกสารที่พิมพ์ไว้จัดเป็นแฟ้มข้อมูล เรียกมาพิมพ์หรือแก้ไขใหม่ได้ การพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ก็มีรูปแบบตัวอักษรให้เลือกหลายรูปแบบ เอกสารจึงดูเรียบร้อยสวยงาม ปัจจุบันมีการเพิ่มขีดความสามารถของซอฟต์แวร์ประมวลคำอีกมากมาย ซอฟต์แวร์ประมวลคำที่นิยมอยู่ในปัจจุบัน เช่น วินส์เวิร์ด จุฬาจารึก โลตัสเอมิโปร
2)ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน (spread sheet software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการคิดคำนวณ การทำงานของซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ใช้หลักการเสมือนมีโต๊ะทำงานที่มีกระดาษขนาดใหญ่วางไว้ มีเครื่องมือคล้ายปากกา ยางลบ และเครื่องคำนวณเตรียมไว้ให้เสร็จ บนกระดาษมีช่องให้ใส่ตัวเลข ข้อความหรือสูตร สามารถสั่งให้คำนวณตามสูตรหรือเงื่อนไขที่กำหนด ผู้ใช้ซอฟต์แวร์ตารางทำงานสามารถประยุกต์ใช้งานประมวลผลตัวเลขอื่น ๆ ได้กว้างขวาง ซอฟต์แวร์ตารางทำงานที่นิยมใช้ เช่น เอกเซล โลตัส
3)ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล (data base management software) การใช้คอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งคือการใช้เก็บข้อมูล และจัดการกับข้อมูลที่จัดเก็บในคอมพิวเตอร์ จึงจำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์จัดการข้อมูล การรวบรวมข้อมูลหลาย ๆ เรื่องที่เกี่ยวข้องกันไว้ในคอมพิวเตอร์ เราก็เรียกว่าฐานข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการเก็บ การเรียกค้นมาใช้งาน การทำรายงาน การสรุปผลจากข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลที่นิยมใช้ เช่น เอกเซส ดีเบส พาราด็อก ฟ๊อกเบส
4)ซอฟต์แวร์นำเสนอ (presentation software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับนำเสนอข้อมูล การแสดงผลต้องสามารถดึงดูดความสนใจ ซอฟต์แวร์เหล่านี้จึงเป็นซอฟต์แวร์ที่นอกจากสามารถแสดงข้อความในลักษณะที่จะสื่อความหมายได้ง่ายแล้วจะต้องสร้างแผนภูมิ กราฟ และรูปภาพได้ ตัวอย่างของซอฟต์แวร์นำเสนอ เช่น เพาเวอร์พอยต์ โลตัสฟรีแลนซ์ ฮาร์วาร์ดกราฟิก
5)ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูล (data communication software) ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูลนี้หมายถึงซอฟต์แวร์ที่จะช่วยให้ไมโครคอมพิวเตอร์ติดต่อสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นในที่ห่างไกล โดยผ่านทางสายโทรศัพท์ ซอฟต์แวร์สื่อสารใช้เชื่อมโยงต่อเข้ากับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น อินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถใช้บริการอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ สามารถใช้รับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ใช้โอนย้ายแฟ้มข้อมูล ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูล อ่านข่าวสาร นอกจากนี้ยังใช้ในการเชื่อมเข้าหามินิคอมพิวเตอร์หรือเมนเฟรม เพื่อเรียกใช้งานจากเครื่องเหล่านั้นได้ ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูลที่นิยมมีมากมายหลายซอฟต์แวร์ เช่น โปรคอม ครอสทอล์ค เทลิก
2)ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน (spread sheet software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการคิดคำนวณ การทำงานของซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ใช้หลักการเสมือนมีโต๊ะทำงานที่มีกระดาษขนาดใหญ่วางไว้ มีเครื่องมือคล้ายปากกา ยางลบ และเครื่องคำนวณเตรียมไว้ให้เสร็จ บนกระดาษมีช่องให้ใส่ตัวเลข ข้อความหรือสูตร สามารถสั่งให้คำนวณตามสูตรหรือเงื่อนไขที่กำหนด ผู้ใช้ซอฟต์แวร์ตารางทำงานสามารถประยุกต์ใช้งานประมวลผลตัวเลขอื่น ๆ ได้กว้างขวาง ซอฟต์แวร์ตารางทำงานที่นิยมใช้ เช่น เอกเซล โลตัส
3)ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล (data base management software) การใช้คอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งคือการใช้เก็บข้อมูล และจัดการกับข้อมูลที่จัดเก็บในคอมพิวเตอร์ จึงจำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์จัดการข้อมูล การรวบรวมข้อมูลหลาย ๆ เรื่องที่เกี่ยวข้องกันไว้ในคอมพิวเตอร์ เราก็เรียกว่าฐานข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการเก็บ การเรียกค้นมาใช้งาน การทำรายงาน การสรุปผลจากข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลที่นิยมใช้ เช่น เอกเซส ดีเบส พาราด็อก ฟ๊อกเบส
4)ซอฟต์แวร์นำเสนอ (presentation software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับนำเสนอข้อมูล การแสดงผลต้องสามารถดึงดูดความสนใจ ซอฟต์แวร์เหล่านี้จึงเป็นซอฟต์แวร์ที่นอกจากสามารถแสดงข้อความในลักษณะที่จะสื่อความหมายได้ง่ายแล้วจะต้องสร้างแผนภูมิ กราฟ และรูปภาพได้ ตัวอย่างของซอฟต์แวร์นำเสนอ เช่น เพาเวอร์พอยต์ โลตัสฟรีแลนซ์ ฮาร์วาร์ดกราฟิก
5)ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูล (data communication software) ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูลนี้หมายถึงซอฟต์แวร์ที่จะช่วยให้ไมโครคอมพิวเตอร์ติดต่อสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นในที่ห่างไกล โดยผ่านทางสายโทรศัพท์ ซอฟต์แวร์สื่อสารใช้เชื่อมโยงต่อเข้ากับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น อินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถใช้บริการอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ สามารถใช้รับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ใช้โอนย้ายแฟ้มข้อมูล ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูล อ่านข่าวสาร นอกจากนี้ยังใช้ในการเชื่อมเข้าหามินิคอมพิวเตอร์หรือเมนเฟรม เพื่อเรียกใช้งานจากเครื่องเหล่านั้นได้ ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูลที่นิยมมีมากมายหลายซอฟต์แวร์ เช่น โปรคอม ครอสทอล์ค เทลิก
2. ซอฟต์แวร์ใช้เฉพาะทาง
เป็นโปรแกรมที่ได้รับการออกแบบและพัฒนาสำหรับนำไปใช้งานเฉพาะด้านหรือในสาขาใดสาขาหนึ่งตามความต้องการของผู้ใช้ โดยที่ผู้เขียน คือ โปรแกรมเมอร์ (Programmer) ที่มีความสามารถในการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ และต้องศึกษาทำความเข้าใจงานและรายละเอียดของการประยุกต์นั้นเป็นอย่างดี เช่น โปรแกรมช่วยจัดการด้านการเงิน โปรแกรมช่วยจัดการบริการลูกค้า ฯลฯ ตามปกติจะไม่ค่อยได้พบเห็นซอฟต์แวร์ประเภทนี้ในท้องตลาดทั่วไป แต่จะซื้อหาได้จากผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่ายในราคาค่อนข้างสูงกว่าซอฟต์แวร์ที่ใช้งานทั่วไป
ในประเทศไทย มีการใช้ซอฟต์แวร์ประเภทใช้เฉพาะทางอยู่บ้าง ส่วนใหญ่จะเป็นซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตต่างประเทศได้ออกแบบมาเพื่อรองรับงานด้านธุรกิจ ในที่นี้ได้รวบรวมจัดประเภทไว้ดังนี้
1) ซอฟต์แวร์ระบบงานด้านบัญชี
ได้แก่ ระบบงานบัญชีเจ้าหนี้ บัญชีลูกหนี้ บัญชีสินทรัพย์ถาวรและค่าเสื่อมราคาสะสม บัญชีแยกประเภททั่วไป และบัญชีเงินเดือน
2) ซอฟต์แวร์ระบบงานจัดจำหน่าย
ได้แก่ ระบบงานรับใบสั่งซื้อสินค้า ระบบงานบริหารสินค้าคงคลัง และระบบงานประวัติการขาย
3) ซอฟต์แวร์ระบบงานในโรงงานอุตสาหกรรม
ได้แก่ ระบบงานกำหนดโครงสร้างผลิตภัณฑ์ การวางแผนกำลังการผลิต การคำนวณต้นทุนของงาน การประเมินผลงานของพนักงาน การวางแผนการผลิตหลัก การวางแผนความต้องการวัสดุ การควบคุมการทำงานภายในโรงงาน การกำหนดเงินทุนมาตรฐานสินค้า และการกำหนดขั้นตอนการผลิต
4) ซอฟต์แวร์อื่น ๆ
ได้แก่ ระบบการสร้างรายงาน การบริหารการเงิน การเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ และการเช่าซื้อรถยนต์
วิธีการเลือกซอฟต์แวร์
หลักการเลือกใช้ซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับงาน
ซอฟต์แวร์ประเภทซอฟต์แวร์ประยุกเป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับคอมพิวเตอร์เพราะช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงาน โดยมีหลักการเลือกซอฟต์แวร์ดังนี้
1.ความสามารถในการทำงาน
เป็นหลักการในอันดับต้นที่ผู้ใช้ซอฟต์แวร์จะต้องเลือกเพื่อให้ซอฟต็แวร์ที่ติดตั้งนั้น สามารถตอบสนองต่อการทำงาน สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวก และเกิดประสิทธิ์ภาพในการทำงานมากที่สุด
2.การติดต่อกับผู้ใช้
รูปแบบของซอฟต์แวร์ต้องออกแบบมาเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายต่อการทำงาน เช่น เป็นรูปแบบไอคอน เพื่อง่ายต่อการทำงานมากขึ้น เป็นต้น
3.ความเข้ากันได้
ความเข้ากันได้ของซอฟต์แวร์สำเร็จรูป เป็นหลักการที่ต้องพิจารณาให้ละเอียดรอบคอบอย่างเหมาะสม เนื่องจากอาจทำให้เกิดการทำงานไม่เต็มที่ หรือส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ได้ มีข้อต้องคำนึง 2 ส่วนดังนี้
- ความเข้ากันได้ของฮาร์ดแวร์
ต้องคำนึงถึงความเป็นไปได้ในการใช้งานให้คู่กันไปของซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ คือ ต้องเข้ากันได้ ควรเลือกให้สัมพันะ์กันมากที่สุด เพื่อประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด
- ความเป็นกันได้ของซอฟต์แวร์
คำนึงถึงความเข้ากันได้ของระบบปฏิบัติการซอฟต์แวร์ ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ความเข้ากันได้ของรุ่นคอมพิวเตอร์ ตลอดจนความเข้ากันได้ของซอฟต์แวร์ด้วยกันเอง
4.การติดตั้งและการดูแลรักษา
ซอฟต์แวร์ทั่วไปจะต้องติดตั้งง่าย มีระบบการตรวจสอบการติดตั้ง ระบบช่วยเหลือ เพื่อความสะดวกในการใช้งานของผู้ใช้เองด้วย
5.กลุ่มผู้ใช้
หากมีผู้ใช้มากๆก็เป็นการรับรองคุณภาพได้ว่า ของเขาดีจริง จึงมีคนใช้มาก
การเลือกใช้ซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับทรัพยากรหรือฮาร์ดแวร์ที่มีอยู่ต้องพิจารราคุณลักษณะขั้นต่ำของคอมพิวเตอร์ที่จำเป็นต้องมีเพื่อให้สามารถประมวลผลซอฟต์แวร์นั้นได้ โดยคอมพิวเตอร์ที่จพติดตั้งซอฟต์แวร์จะต้องมีคุณลักษณะไม่ต่ำไปกว่าที่ผู้ผลิตซอฟต์แวร์กำหนดไว้ คุณลักษณะในการพิจารณา เช่น ความเร็วของซีพียู ความจุของแรม ความละเอียดของการ์ดแสดงผล
การเลือกใช้ซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับงบประมาณ
หากมีงบประมาณไม่เพียงพออาจเลือกใช้ซอฟต์แวร์ที่มีราคาต่ำกว่าหรือไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกัน เช่น การใช้วอฟต์แวร์แบบรพัสเปิดแทนซอฟต์แวร์ที่มีราคาแพง
การเลือกใช็ซอฟต์แวร์โดยไม่ละเมิอลิขสิทธิ์
เพื่อเป็นการสนับสนุนให้มีผู้ผลิตซอฟต์แวร์ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ถ้าต้องใช้ซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ต้องจัดซื้อให้ถูกต้องตามกฎหมาย
ซอฟต์แวร์อาจสามารถหาซื้อได้จากร้านค้าที่ขายผลิตภัณฑ์เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์โดยมักจะอยู่ในรูปแบบของแผ่นซีดี หรือแผ่นดีวีดีที่บรรจุโปรแกรม หรืออาจดาวน์โหลดซอฟตืแวร์ที่ต้องการจากอินเทอร์เน็ตไม่ว่าจะได้ซอฟต์แวร์มาด้วยวิธีการก็ตาม ซอฟต์แวร์ดังกล่าวจะถูกติดตั้งลงในคอมพิวเตอร์เสียก่อน จึงสามารถเรียกใช้เพื่อให้ประมวลผลตามหน้าที่ของซอฟต์แวร์นั้นๆได้
ตัวอย่าง ซอฟต์แวร์ประยุกต์ช่วยในการทำงานด้านธุรกิจ
ซอฟต์แวร์สำหรับจัดโครงการ (Project management) ใช้ในการวิเคราะห์และวางแผนโครงการเป็นหลัก ซึ่งตัวโปรแกรมสามารถช่วยให้ผู้ใช้งานมีการวางแผนงานที่ง่ายขึ้น รวมถึงความสามารถในการจัดการกิจกรรมงาน ( schedule ) ติดตามงาน วิเคราะห์ต้นทุนและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของโครงการได้ง่ายขึ้น
ซอฟต์แวร์สำหรับงานบัญชี (Accounting) หัวใจของการทำงานทางด้านธุรกิจที่ขาดไม่ได้ก็คือ ส่วนงานบัญชีนั่นเอง โปรแกรมส่วนนี้จะช่วยให้บริษัทหรือหน่วยงานสามารถที่จะบันทึกข้อมูลและแสดงรายงานทางการเงินต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เช่น การออกงบกำไรขาดทุน งบดุล รวมถึงรายการการซื้อ ขาย เป็นต้น
ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ (Word processing) เป็นกลุ่มของโปรแกรมที่ช่วยในการประมวลผลคำนั่นเอง ซึ่งคุณสมบัติหลัก ๆ ก็คือ สามารถจัดการเอกสารต่าง ๆ ได้ เช่น ขนาดตัวอักษรใหญ่ เล็ก รูปแบบตัวอักษร เป็นต้น ปัจจุบันได้พัฒนาให้มีขีดความสามารถโดยการนำเอารูปภาพมาผนวกเข้ากับเอกสารได้ด้วย บางครั้งอาจจะเป็นรูปภาพที่มีอยู่แล้วที่เรียกว่า คลิปอาร์ต หรือภาพถ่ายอื่น ๆ ก็ได้
แหล่งที่ : https://sites.google.com/site/5303103323toon/sxftwaer-prayukt-khux-xari-baeng-xxk-pen-ki- prapheth-xari-bang-cng-xthibay เพื่อการศึกษา
http://softwareameye.blogspot.com/p/blog-page_30.html เพื่อการศึกษา
http://purealone.blogspot.com/2013/06/blog-post_3556.html เพื่อการศึกษา